โครงงานคอมพิวเตอร์
ชื่อเรื่อง
ประวัติความเป็นมาของประเพณีแห่นางแมว
ผู้ทำโครงงาน
1.นายวีรชิต เกตกรณ์
ม.6/4
เลขที่ 1
2.นายศราวุธ ก้อนทอง
ม.6/4
เลขที่ 2
3.นายธัญพงค์ มะโนศรี ม.6/4
เลขที่ 6
4.นายสุทิน สิงเกื้อ
ม.6/4
เลขที่ 8
5.นางสาวจันทกานต์ มารทอง
ม.6/4
เลขที่ 10
5.นางสาวพัชนีย์ ประจงรัมย์ ม.6/4 เลขที่ 11
ครูที่ปรึกษา
นางสาววิภาภรณ์ สวยรูป
โครงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาโครงงานคอมพิวเตอร์
ง.30250
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559
โรงเรียนห้วยจริงวิทยา
อำเภอสนม
จังหวัดสุรินทร์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
เขต33
หัวข้อโครงงาน : ประวัติความเป็นมาของประเพณีแห่นางแมว
ประเภทของโครงงาน
: การพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
รายวิชา :โครงงานคอมพิวเตอร์ รหัสวิชา ง30250
กลุ่มสาระการเรียนรู้
: คอมพิวเตอร์
ผู้เสนอโครงงาน
: 1. นายวีรชิต เกตกรณ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/4
2. นายศราวุธ ก้อนทอง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/4
3. นายธัญพงค์ มะโนศรี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/4
4. นายสุทิน สิงเกื้อ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/4
5. นางสาวจันทกานต์ มารทอง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/4
6. นางสาวพัชนีย์ ประจงรัมย์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/4
ครูที่ปรึกษาโครงงาน
: ครู วิภาภรณ์ สวยรูป
ปีการศึกษา
: 2559
บทคัดย่อ
“ประวัติความเป็นมาของประเพณีแห่นางแมว”นี้เป็นโครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Education Media Development) ลักษณะเด่นของโครงงานประเภทนี้ คือ
เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา
ซึ่งผู้จัดทำจะใช้เว็บบล็อกในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษาเรื่อง “ประวัติความเป็นมาของประเพณีแห่นางแมว” ซึ่งเว็บบล็อกเป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหลากหลายขึ้นอยู่กับเจ้าของบล็อก
โดยสามารถใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร การประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น
การเผยแพร่ผลงาน ในหลายด้านไม่ว่า อาหาร การเมือง เทคโนโลยี หรือข่าวปัจจุบัน
นอกจากนี้บล็อกที่ถูกเขียนเฉพาะเรื่องส่วนตัวหรือจะเรียกว่าไดอารีออนไลน์ซึ่งไดอารีออนไลน์นี่เองเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้บล็อกในปัจจุบัน
กิตติกรรมประกาศ
โครงการนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยความช่วยเหลืออย่างดียิ่งของ
คุณครู วิภาภรณ์ สวยรูป ครูที่ปรึกษาโครงการ
ที่ได้ให้คำแนะนำ และข้อคิดเห็นต่างๆมาโดยตลอด และ ขอขอบคุณ และขอบใจ
ครอบครัวและเพื่อนๆของผู้จัดทำโครงงาน ที่คอยให้กำลังใจ
และถามไถ่ความเป็นไปของโครงการอยู่เสมอ ทำให้ผู้จัดทำโครงงานมีกำลังใจที่จะพัฒนาโครงการจนสำเร็จได้
ผู้จัดทำโครงงานขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้
คณะผู้จัดทำ
สารบัญ
เรื่อง หน้า
บทที่1 บทนำ
วัตถุประสงค์
ขอบเขตการศึกษา
ประโยชน์ที่ได้รับ
บทที่2 เอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
ความเชื่อ การแห่นางแมวภาคอิสาน
การแห่นางแมวภาคกลาง
สร้างเว็บบล็อก(Blogger)
บทที่3 วิธีดำเนินการ
เครื่องมือ
วิธีดำเนินโครงงาน
บทที่4 ผลการดำเนินการ
4.1 ผลการพัฒนาเว็บบล็อก
4.2 ตัวอย่างการนำเสนอหน้าเว็บบล็อก
บทที่5
สรุปผลและข้อเสนอแนะ
5.1 การดำเนินงานจัดทำโครงงาน
5.2 สรุปผลการดำเนินงานโครงงาน
5.3 ข้อเสนอแนะ
5.4 ปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการพัฒนา
ภาคผนวก
บรรณานุกรม
บทที่1
บทนำ
“ประวัติความเป็นมาของประเพณีแห่นางแมว”นี้เป็นโครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Education Media Development) ลักษณะเด่นของโครงงานประเภทนี้ คือ
เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา
ซึ่งผู้จัดทำจะใช้เว็บบล็อกในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษาเรื่อง “ประวัติความเป็นมาของประเพณีแห่นางแมว” ซึ่งเว็บบล็อกเป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหลากหลายขึ้นอยู่กับเจ้าของบล็อก
โดยสามารถใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร การประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น
การเผยแพร่ผลงาน ในหลายด้านไม่ว่า อาหาร การเมือง เทคโนโลยี หรือข่าวปัจจุบัน
นอกจากนี้บล็อกที่ถูกเขียนเฉพาะเรื่องส่วนตัวหรือจะเรียกว่าไดอารีออนไลน์
ซึ่งไดอารีออนไลน์นี่เองเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้บล็อกในปัจจุบัน
ผู้จัดทำโครงงานจะนำเนื้อหาความรู้ เรื่อง “ประวัติความเป็นมาของประเพณีแห่นางแมว” ไปเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ตผ่านทางเว็บบล็อก
เพื่อให้ผู้กำลังค้นหาข้อมูลเรื่องดังกล่าวสามารถเข้าไปศึกษาได้ในเว็บบล็อกของผู้จัดทำ
โดยการใช้งานเว็บบล็อกมีดังนี้
ผู้ใช้งานบล็อกจะแก้ไขและบริหารบล็อกผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์เหมือนการใช้งานและอ่านเว็บไซต์ทั่วไป
โดยจะมีรูปแบบบริหารบล็อกที่แตกต่างกัน เช่นบางระบบที่มีบรรณาธิการของบล็อก
ผู้เขียนหลายคนจะส่งเรื่องเข้าทางบล็อก
และจะต้องรอให้บรรณาธิการอนุมัติให้บล็อกเผยแพร่ก่อน บล็อกถึงจะแสดงผล ในเว็บไซต์นั้นได้
ซึ่งจะแตกต่างจากบล็อกส่วนตัวที่จะให้แสดงผลได้ทันที
ผู้เขียนบล็อกในปัจจุบันจะใช้งานบล็อกในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งไม่ว่า
ติดตั้งซอฟต์แวร์ของตัวเอง หรือใช้งานบล็อกผ่านทางเว็บไซต์ที่ให้บริการบล็อก
สำหรับผู้อ่านบล็อกจะใช้งานได้ในลักษณะเหมือนอ่านเว็บไซต์ทั่วไป
และสามารถแสดงความเห็นได้ในส่วนท้ายของแต่ละบล็อกโดยอาจจะต้องผ่านการลงทะเบียนในบางบล็อกนอกจากนี้ผู้อ่านบล็อกสามารถอ่านบล็อกได้ผ่านระบบฟีด ซึ่งมีให้บริการในบล็อกทั่วไป
ทำให้ผู้ใช้สามารถอ่านบล็อกได้โดยตรง
ผ่านโปรแกรมตัวอื่นโดยไม่จำเป็นต้องเข้ามาสู่หน้าบล็อกนั้น
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาและพัฒนาเว็บบล็อก
เรื่องประวัติความเป็นมาของประเพณีแห่นางแมว
2. เพื่อเป็นสื่อทางการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
3. เพื่อเป็นประโยชน์กับบุคคลที่สนใจทั่วไป
ขอบเขตการศึกษา
ศึกษาโครงงานเกี่ยวกับ ประวัติความเป็นมาของประเพณีแห่นางแมว เพื่อพัฒนาสื่อผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
โดยใช้โปรแกรม Blogger นำเสนอ
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ได้ทราบประวัติความเป็นมาของประเพณีแห่นางแมว
2. ได้ทราบวิธีแห่นางแมว
3.
ได้สื่อทางการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของประเพณีแห่นางแมว
บทที่2
เอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
การแห่นางแมวเป็นพิธีอ้อนวอนขอฝน
ซึ่งจำจัดทำขึ้นในปีใดที่ท้องถิ่นแห่งแล้งฝน ไม่ตกต้องตามฤดูกาล สาเหตุที่ฝนไม่ตก
ท่านผู้รู้กล่าวไว้ว่า น้ำฝนนั้นเป็นน้ำของเทวดา ดังมีศัพท์บาลีว่า เทโว
ซึ่งแปลว่า น้ำฝน เป็นเอกลักษณ์ของความดี ความบริสุทธิ์ สิ่งแวดล้อมเป็นพิษมากๆ
ควัน และละอองเขม่าน้ำมัน ห่อหุ้มโลกทำให้เป็นภัยแก่มนุษย์
ผู้ที่จะล้างอากาศได้ทำให้ละอองพิษพวกนั้นตกลงดิน ทำให้อากาศสะอาดคือ
"เทโว" หรือ "ฝน" นั่นเอง ดังจะเห็นได้จากเมื่อฝนหยุดตกใหม่ๆ
อากาศจะสดชื่น ระงมไปด้วยเสียงของกบ เขียด
ความเชื่อ
การแห่นางแมวภาคอิสาน
พิธีแห่นางแมวของชาวอีสานเพราะเชื่อว่าเหตุที่ฝนไม่ตกมีเหตุผลหลายประการ
เช่น เกิดจากดินฟ้าอากาศเปลี่ยนแปลง,ประชาชนชาวเมืองหย่อนในศีลธรรม, เจ้าเมืองหรือเจ้าแผ่นดิน ไม่ทรงอยู่ในทศพิธราชธรรม เป็นต้น ดังนั้น
ถ้ามนุษย์อยากให้เทวะคือน้ำฝนที่ดีไม่ใช่ดีเปรสชั่น มาเยี่ยมตามกาลเวลา
มนุษย์ก็ควรตั้งอยู่ในศีลในธรรม เพราะคนที่มีศีลมีธรรมท่านจึงเรียกว่า
"เทวะ" ทั้งๆ ที่เป็นคน เพราะเหตุดังกล่าวมานี้ เทวะคือฝน
กับเทวะคือคนผู้มีคุณธรรม ย่อมจะมาหากันเพราะเป็นเล่ากอแห่งเทวะด้วยกัน
เหมือนพระย่อมไปพักกับพระเป็นต้น เหตุนี้ชาวเมือง
ชาวอีสานจึงต้องทำพิธีอ้อนวอนขอฝน และการที่ต้องใช้แมวเป็นตัวประกอบสำคัญในการขอฝน
เพราะเชื่อว่าแมวเป็นสัตว์ที่เกลียดฝน ถ้าฝนตกครั้งใดแมวจะร้องทันที
ชาวอีสานจึงถือเอาเคล็ดที่แมวร้องในเวลาฝนตกว่า จะเป็นเหตุให้ฝนตกจริงๆ
ชาวบ้านจึงร่วมมือกันสาดน้ำและทำให้แมวร้องมากที่สุดจึงจะเป็นผลดี
และชาวอีสานเชื่อว่าหลังจากทำพิธีแห่นางแมวแล้วฝนจะตกลงมาตามคำอ้อนวอน
และตามคำเซิ้งของนางแมว
นอกจากแมวจะเข้ามาเกี่ยวข้องในพิธีเกิดและพิธีแต่งงานในวัฒนธรรมไทยแล้ว
แมวยังเข้ามามีส่วนร่วมในอีกประเพณีสำคัญของไทยที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน
นั่นคือ พิธีแห่นางแมวขอฝน คนไทยในสมัยก่อนเชื่อว่า
แมวเป็นสัตว์ที่มีอำนาจลึกลับศักดิ์สิทธิ์ สามารถเรียกฝนให้ตกลงมาได้
และเมื่อถึงฤดูฝน หากฝนแล้งไม่ตกต้องตามฤดูกาล
ชาวไทยโดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรที่จำเป็นต้องใช้น้ำในการเกษตรกรรมจะต้องนำนางแมว
(แมวตัวเมีย) โดยคัดเลือกแมวไทยพันธุ์สีสวาด (คนไทยโบราณเรียก แมวมาเลศ ตามภาพ)
ตัวที่มีรูปร่างปราดเปรียว สวยงามตั้งแต่ 1-3 ตัว
นำนางแมวมาใส่กระบุงหรือตะกร้าหรือเข่งก็ได้ สาเหตุที่ต้องเลือกแมวพันธุ์นี้เพราะเชื่อว่า
สีขนแมวเป็นสีเดียวกับเมฆ จะทำให้เกิดฝนตกได้ แต่บางแห่งก็ใช้แมวดำ
ก่อนที่จะนำนางแมวเข้ากระบุง
คนที่เป็นผู้อาวุโสที่สุด จะพูดกับนางแมวว่า "นางแมวเอย …ขอฟ้าขอฝน ให้ตกลงมาด้วยนะ" พอหย่อนนางแมวลงกระบุงแล้ว
ก็ยกกระบุงนั้นสอดคานหามหัวท้าย จะปิดหรือเปิดฝากระบุงก็ได้
แต่ถ้าปิดต้องให้นางแมวโดนน้ำกระเซ็นใส่
ตอนที่สาดน้ำด้วยจะต้องถูกต้องตามหลักประเพณี
ผู้หญิงที่เข้าร่วมในพิธีแห่
จะผัดหน้าขาว ทัดดอกไม้สดดอกโตๆ ขบวนแห่จะร้องรำทำเพลงที่สนุกสนานเฮฮา
เมื่อขบวนแห่ถึงบ้านไหน แต่ละบ้านจะต้องออกมาต้อนรับอย่างเต็มที่
เพราะเกรงว่าแมวจะโกรธ และจะบันดาลไม่ให้ฝนตกลงมา และมีความเชื่อว่า
ถ้าแห่นางแมวแล้วฝนจะตก ภายใน 3 วันหรือ 7 วัน นอกจากนี้ พิธีแห่นางแมวขอฝน
จะเป็นการช่วยเรียกให้ฝนตกแล้ว
ยังถือว่าพิธีนี้เป็นการสร้างความสัมพันธ์กับผู้คนในหมู่บ้านให้แน่นแฟ้นขึ้น
เนื่องจากจะต้องมีการช่วยเหลือกันในการประกอบพิธีอีกด้วย
องค์ประกอบที่ใช้ในพิธีแห่นางแมว
1.กะทอหรือเข่ง หรือกระบุง
ที่มีฝาปิดข้างบน 1 อัน
2.แมวสีดำตัวเมีย 1-3 ตัว
3.เทียน 5 คู่
4.ดอกไม้ 5 คู่
5.ไม้สำหรับสอดกะทอให้คนหาม
1 อัน
วิธีแห่นางแมว
ชาวบ้านรวมทั้งคนแก่คนหนุ่มและเด็กส่วนมากจะเป็นผู้ชาย
ปรึกษาหารือกัน คนที่เป็นผู้นำกล่าวเซิ้ง เพื่อให้ผู้ไปแห่ทั้งหมดเป็นผู้ว่าตาม
ส่วนใหญ่จะเป็นคนเฒ่าคนแก่ในหมู่บ้าน หากะทอใบหนึ่งหรืออาจใช้เข่ง
หรือกระบุงก็ได้ จับเอาแมวตัวเมียสีดำ
หรือแมวไทยพันธุ์สีสวาด (คนไทยโบราณเรียก แมวมาเลศ)
1 ตัวใส่ในกะทอ
ใช้เชือกผูกปิดปากะทอไม่ให้แมวออกได้ และใช้ไม้สอดกะทอให้คนหา 2 คน
ตั้งคายด้วยขันธ์ ห้า ป่าวสักเคเทวดา เพื่อให้เทวดาบันดาลให้ฝนตก ได้เวลาพลบค่ำผู้คนกำลังอยู่บ้าน ก็เริ่มขบวนแห่โดยหากะทอแมวออกข้างหน้า
แล้วตามด้วยคนว่า คำเซิ้ง และผู้แห่ว่าตามเป็นท่อนๆ ไป
ในขบวนก็จะมีการตีเกราะเคาะไม้เพื่อให้เกิดจังหวะตามไปด้วย
และแห่ไปทุกหลังคาเรือนในหมู่บ้านนั้นๆ
เมื่อแห่ไปถึงบ้านใครเจ้าของบ้านก็ต้องเอาน้ำสาด หรือรดที่ตัวแมวให้เปียกและทำให้แมวร้อง และสาดใส่ขบวนเซิ้งด้วย
ประเพณีบางบ้านก็สาดใส่ขบวนเฉยๆ โดยไม่ให้ถูกแมว เพราะปรากฏว่าเซิ้งหนักๆ เข้า
แมวตายวันละตัว
แห่นางแมว
อิสาน อีกแบบหนึ่ง
ให้เอาแมวมา 1
ตัว ใส่ในกระทอ มีคนหามตั้งคายขัน 5 หามประกอบพิธีป่าวสัคเค
เทวาเชิญเทวดาลงมาบอกกล่าวขอน้ำฝนกับเทวดาว่า จะขอฝนด้วยการใช้พิธีแห่นางแมว
แล้วสั่งให้พวกหามแมวแห่เซิ้งไปตามถนนในหมู่บ้าน มีคนทั้งชาย หญิง
และเด็กเดินถือดอกไม้ตามไปถึงเรือนหลังไหน
คนในเรือนหลังนั้นก็เอาน้ำสาดมาใส่ทั้งแมวและคน เล่นเอาทั้งแมวทั้งคนหนาวไปตามๆ
กัน ในบางแห่งจะมีการผูกเอวคนหัวล้าน 2 คน ทำฮึดฮัดจะชนกันตามกระบวนไปด้วย
บางจุดก็หยุดให้หัวล้านชนกัน สลับคำเซิ้งชาวก็บ้านจะเอาน้ำรดแสดงไปเรื่อยๆ
จะเซิ้งอย่างนี้เริ่มจาก 3 โมงเย็นจนถึง 2 ทุ่ม
หรือรอบหมู่บ้านแล้วหยุด พอหยุดไม่นานฝนก็จะตกฟ้าแลบฟ้าร้องฟ้าผ่าตามมา
คำเซิ้ง
แต่ละท้องถิ่นไม่ค่อยเหมือนกัน
แต่สิ่งที่รวมอยู่ในคำเซิ้งคือมีการพรรณนาถึงความแห้งแล้งและขอให้ฝนตกเหมือนกัน
และเท่าที่ประมวลมาส่วนใหญ่จะเป็นดังนี้
ตัวอย่าง
คำเซิ้งในพิธีแห่นางแมว แบบที่ 1
"เต้าอีแม่นางแมว
แมวมาขอไข่ ขอบ่ได้ขอฟ้าขอฝน
ขอน้ำมนต์อดหัวแมวบ้าง
บ่ได้ค่าจ้างเอาแมวข้อยมา
บ่ได้ปลาเอาหนูกับข้าว
บ่ได้ข้าว เหล้าเด็ดก็เอา
เหล้าโทก็เอา
แม่เม่าเอย อย่าฟ้าวขายลูก ข้าวเพิ่นปลูก
ลูกน้อยเพิ่นแพง
ตาเวนแดง ฝนแทงลงมา ตาเวนต่ำ
ฝนหน่ำลงมา
ตาเวนตก ฝนตกลงมา
ดังเค็งๆข้ามดงมานี้แบ้นบักเลิกแบ้นพ่ออีเถิง
ฮ่งเบิงๆ
ฝนเทลงมา ฝนบ่ตกข้าวไฮ่ตายเหมิดแล้ว
ฝนบ่ตกข้าวนาตายแล้งเหมิดแล้ว
ฝนบ่ตกกล้าแห้งตายพรายเหมิดแล้ว
ตกลงมาฝนตกลงมา
เท่งลงมาฝนเท่งลงมา
กุ๊กกู๊
กุ๊กกู๊ กุ๊กกู๊ กุ๊กกู๊ กุ๊กกู๊”
ตัวอย่าง
คำเซิ้งนางแมว แบบที่ 2
เซิ้งอันนี้เผิ่นว่า
เซิ้งนางแมว ย่างเป็นแถวกะนางแมวออกก่อน
ไปตามบ่อนกะตามซอกตามซอย
ไปบ่ถอยกะขอฝนขอฟ้า
เฮาคอยถ้าให้ฝนเทลงมา
ตามประสาแมวโพงแมวเป้า
แมวดำกินปลาย่าง
แมวด่างกินปลาแห้ง
ฝนฟ้าแล้ง
กะขอฟ้าขอฝน
ขอน้ำมนต์กะรดหัวแมวบ้าง
(ชาวบ้านก็สาดน้ำลงใส่)
เทลงมากะฝนเทลงมา
ท่วมไฮ่ท่วมนา
ท่วมฮูปลาไหล ท่วมไม้โสงเสง
หัวล้านชนกันฝนเทลงมา
(ซ้ำ)
แห่นางแมว
ภาคกลาง
ประเพณีแห่นางแมวเป็นพิธีขอฝนของพวกชาวบ้าน
โดยเฉพาะภาคกลาง ปีใดที่ฝนมาล่าหรือแล้งผิด ปกติ อันจะทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน
พืชในไร่นาให้ผลไม่เต็มที่ อาจถึงกับให้เกิดภาวะข้าวยากหมากแพงได้ ชาวบ้านก็จะชุมนุมปรึกษาหารือกันเพื่อทำพิธีแห่นางแมวตามที่ทำสืบเป็นประเพณี
เพราะเชื่อว่าภายหลังเมื่อแห่นางแมวแล้ว ไม่ช้าฝนก็จะเทลงมา
ลักษณะความเชื่อ
ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติช่วงเวลากรณีฝนแล้งไม่ตกต้องตามฤดูกาล
เพราะสังคมไทยเป็นสังคมแบบเกษตรกรรม ต้องอาศัยน้ำฝนเป็นปัจจัยในการเพาะปลูก
สมัยก่อนไม่มีระบบการชลประทาน หรือทำฝนเทียมเช่นปัจจุบัน ตามความเชื่อดั้งเดิม
" ฝน" เป็นสิ่งที่เบื้องบนประทานลงมา เมื่อใดฝนไม่ตกต้อง ตามฤดูกาล
การเพาะปลูกพืชพันธุ์ก็ดำเนินไปไม่ได้ ด้วยเหตุนี้จึงต้องทำพิธี "แห่นางแมว"
พิธีกรรม
พระยาอนุมานราชธน
ปราชญ์คนสำคัญของไทย ให้ข้อสังเกตว่า แมวเป็นสัตว์ไม่ชอบน้ำ
โบราณจึงถือว่าเป็นตัวแล้ง เมื่อแมวถูกน้ำสาดเปียกปอน ก็จะหมดสภาพตัวแล้งไป
ชาวบ้านคงถือเคล็ดตรงนี้ จึงมีพิธีแห่งนางแมวสืบต่อกันมา
ชาวบ้านก็เชื่อว่าแมวเป็นสัญลักษณ์ของความแห้งแล้งเช่นกัน
เมื่อแมวถูกสาดน้ำจะหายแล้ง จึงจับแมวตัวเมียมาใส่ "ตะข้อง" หรือ ชะลอม
หรือเข่ง ตะกร้า สุดแต่จะหาได้ อาไม้คานสอดเข้าไปในตะข้อง
แล้วพากันแห่ตระเวนไปทั่วหมู่บ้าน ในขบวนแห่มีคนตีกลอง ตีกรับ ตีฆ้อง หรือตีฉิ่ง
และจะร่วมกันร้องเพลงแห่นางแมว โดยมีคำร้องสั้นๆ ง่ายๆแต่สัมผัสคล้องจองกันดังนี้
"นางแมวเอย
มาร้องแจ้วแจ้ว
นางแมวขอไก่
ขอไม่ได้ ร้องไห้ขอฝน
ขอน้ำมนต์รดแมวข้าที
มีแก้วนัยน์ตา
ออกมาเดือนหก ฝนตกทุกที
มาปีนี้ไม่มีฝนเลย
พ่อตาลูกเขย
นอนก่ายหน้าผาก
พ่อหม้ายลูกมาก
มันยากเพราะข้าว
คนหนุ่มคนสาว คนเฒ่าหัวห้อย
พาเด็กน้อย
มาเล่นนางแมว
มาร้องแจ้วฝนก็เทลงมา
ฝนก็เทลงมา
เมื่อเคลื่อนขบวนแห่
ต่างก็ร้องบทแห่นางแมว ซึ่งมีข้อความผิดเพี้ยนกันไปแล้วแต่ท้องถิ่น บางบทมี
ถ้อยคำกระเดียดไปทางหยาบโลน เมื่อแห่ถึงบ้านใคร
เจ้าของบ้านก็จะเอากระบวยตักน้ำสาดลงไปในชะลอมหรือตะกร้าที่ขังแมวอยู่
จากนั้นเจ้าของบ้านก็ให้รางวัลแก่พวกแห่ เป็นเหล้า ข้าวปลา ไข่ต้ม
หรือของกินอย่างอื่น
ส่วนมากมักให้เงินเล็กน้อยแก่คนถือพานนำหน้ากระบวนแห่ เสร็จแล้วก็เคลื่อน
ต่อไปยังบ้านอื่นๆ จนสุดเขตหมู่บ้าน แล้วก็กลับมาชุมนุมเลี้ยงดูกันเป็นที่ครึกครื้น
พร้อมทั้งปล่อยแมวให้เป็นอิสระ ถ้าฝนยังไม่ตก ก็ต้องแห่ซ้ำในวันรุ่งขึ้นและวันต่อๆ
ไปจนกว่าฝนจะตก
ซึ่งสรุปเนื้อหาโดยรวมคือ
"ขอให้ฝนตก" เมื่อขบวนแห่ผ่านไปที่บ้านใด
ก็จะร้องเชื้อเชิญให้ออกมาร่วมพิธี เจ้าของบ้านก็จะนำกระบวยตักน้ำในตุ่มหน้าบ้าน
สาดไปใน "ตะข้องนางแมว"หรือตะข้องที่ใส่แมว
เป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของประชาชน
และเกี่ยวข้องกับอาชีพเกษตรกรรมพิธีแห่นางแมวนี้ชาวบ้านเชื่อกันว่า
จะทำให้ฝนตกและบรรเทาสภาวะแห้งแล้งไปได้
การสร้างเว็บบล็อก (Blogger)
ขั้นตอนที่ 2 จากนั้นทำการสมัคร (สำหรับบุคคลที่ยังไม่มี Gmail ) ถ้ามีแล้วให้ล๊อกอินได้เลย
ขั้นตอนที่ 3 ให้กรอกข้อมูลตามความเป็นจริง
ขั้นตอนที่ 4 คลิกที่ปุ่มสร้างบล็อกใหม่
ขั้นตอนที่5 พอคลิกแล้วจะขึ้นตามรูปจากนั้นให้กรอกข้อมูลลงไป
เลือกแม่แบบตามใจชอบ
ขั้นตอนที่ 6 คลิกปุ่มตามรูป
ขั้นตอนที่ 7 ใส่ข้อมูลต่างๆ
ขั้นตอนที่ 8
คลิกปุ่ม "แสดงตัวอย่าง" ถ้าชอบแล้วกดบันทึก
บทที่ 3
วิธีการดำเนินโครงงาน
เครื่องมือ
- โปรแกรม Microsoft Word 2010
วิธีการดำเนินโครงงาน
ดับที่
|
กิจกรรม
|
เดือนที่ 1
|
เดือนที่ 2
|
เดือนที่ 3
|
เดือนที่ 4
|
||||||||||||
1
|
2
|
3
|
4
|
1
|
2
|
3
|
4
|
1
|
2
|
3
|
4
|
1
|
2
|
3
|
4
|
||
1
|
คิดเรื่องที่สนใจในการทำโครงงาน
|
||||||||||||||||
2
|
ศึกษาเรื่อง “ประวัติความเป็นมาของประเพณีแห่นางแมว”
|
||||||||||||||||
3
|
รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เช่น อินเตอร์เน็ต หนังสือ
เป็นต้น
|
||||||||||||||||
4
|
นำข้อมูลที่ได้มาเรียบเรียงเพื่อจัดทำเป็นสื่อการศึกษาโดยใช้เว็บบล็อก
|
||||||||||||||||
5
|
ออกแบบโครงสร้างสื่อการศึกษาในเว็บบล็อก
|
||||||||||||||||
6
|
ทดสอบและแก้ไขสื่อการศึกษาในเว็บบล็อก
|
||||||||||||||||
7
|
เผยแพร่สื่อการศึกษา“ประวัติความเป็นมาของประเพณีแห่นางแมว”ผ่านทางอินเตอร์เน็ตโดยใช้เว็บบล็อก
|
บทที่ 4
ผลการดำเนินงาน
ผลการดำเนินงาน
การจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์การพัฒนาเว็บบล็อก
(WebBlog) เรื่อง ประวัติความเป็นมาของประเพณีแห่นางแมว มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเว็บบล็อก (WebBlog) และค้นคว้าเรื่องที่สนใจเกี่ยวกับประเพณีแห่นางแมว
เพื่อให้ผู้จัดทำโครงงานสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับการเรียนรู้ของตนเองมากยิ่งขึ้น
ตลอดจนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ระหว่างครู เพื่อนและผู้สนใจทั่วไป ซึ่งมีผลการดำเนินงานโครงงาน ดังนี้
4.1 ผลการพัฒนาเว็บบล็อก
การพัฒนาเว็บบล็อก
(WebBlog) เรื่อง
ประวัติความเป็นมาของประเพณีแห่นางแมว นี้
ผู้จัดทำได้เริ่มดำเนินงานตามขั้นตอนการดำเนินงานที่เสนอในบทที่3แล้วแล้วได้สมัครเป็นสมาชิกเว็บบล็อกที่ชื่อhttps://ratee2542.blogspot.com/จากนั้นได้นำเสนอเผยแพร่ผลงานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา โดยได้นำเผยแพร่ที่เว็บบล็อกชื่อhttp://ratee2542.blogspot.com ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับสื่อสังคมในรูปแบบของ
Social Media ประเภทเว็บไซต์ facebook
ของผู้จัดทำที่ชื่อ
Patchanee Parjongrum ทั้งนี้เว็บบล็อกดัแฟงกล่าว
สามารถจัดการและเชื่อมต่อกับเว็บไซต์อื่นๆ ได้เป็นอย่างดี โดยทั้งครูที่ปรึกษา
เพื่อนๆในห้องเรียนได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้
โดยแสดงความเห็นในเนื้อหาและรูปแบบของการนำเสนออย่างหลากหลาย
ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้และเป็นแหล่งเรียนรู้ในโลกออนไลน์อย่างหลากหลายและรวดเร็ว
4.2 ตัวอย่างการนำเสนอหน้าเว็บบล็อก
บทที่ 5
สรุป อภิปรายและข้อเสนอแนะ
การจัดทำโครงงาน
ประวัติความเป็นมาของประเพณีแห่นางแมว นี้สามารถสรุปผลการดำเนินโครงงาน
และข้อเสนอแนะ ดังนี้
5.1 การดำเนินงานจัดทำโครงงาน
5.1.1
วัตถุประสงค์ของโครงงาน
- เพื่อศึกษาและพัฒนาเว็บบล็อก
เรื่องประวัติความเป็นมาของประเพณีแห่นางแมว
- เพื่อเป็นสื่อทางการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
- เพื่อเป็นประโยชน์กับบุคคลที่สนใจทั่วไป
5.1.2 วัสดุ
อุปกรณ์ เครื่องมือหรือโปรแกรมหรือที่ใช้ในการพัฒนา
- โปรแกรม Microsoft
Word 2010
- เว็บไซต์ที่ให้บริการคือ http://www.blogger.com/
-
เว็บไซต์ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารคือ www.facebook.com ,
www.gmail.com ,
www.google.com
5.2 สรุปผลการดำเนินงานโครงงาน
การพัฒนาเว็บบล็อก (WebBlog) เรื่อง ประวัติความเป็นมาของประเพณีแห่นางแมว นี้
ผู้จัดทำได้เริ่มดำเนินงานตามขั้นตอนการดำเนินงานที่เสนอในบทที่ 3 แล้ว แล้วได้สมัครเป็นสมาชิกเว็บบล็อกที่ชื่อratee2542.blogspot.com จากนั้นได้นำเสนอเผยแพร่ผลงานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา โดยได้นำเผยแพร่ที่เว็บบล็อกชื่อhttp:// ratee2542.blogspot.com
ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับสื่อสังคมในรูปแบบของ
Social Media ประเภทเว็บไซต์ facebook ของผู้จัดทำที่ชื่อ Patchanee Parjongrum
ทั้งนี้เว็บบล็อกดังกล่าว
สามารถจัดการและเชื่อมต่อกับเว็บไซต์อื่นๆ ได้เป็นอย่างดี โดยทั้งครูที่ปรึกษา
เพื่อนๆในห้องเรียนได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ โดยแสดงความเห็นในเนื้อหาและรูปแบบของการนำเสนออย่างหลากหลาย
ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้และเป็นแหล่งเรียนรู้ในโลกออนไลน์อย่างหลากหลายและรวดเร็ว
5.3 ข้อเสนอแนะ
- เว็บไซต์ที่ให้บริการเว็บบล็อก คือ
เป็นเว็บบล็อกสำเร็จรูปที่ใช้ทำเว็บไซต์ได้ง่าย และรวดเร็ว แต่ถ้าเราใช้ประโยชน์ในทางที่ไม่ถูกต้องและไม่เหมาะสม ก็จะส่งผลต่อการละเมิดลิขสิทธิ์และได้รับความรู้ที่ไม่ถูกต้อง เพราะฉะนั้นผู้จัดทำควรเผยแพร่สิ่งที่ดี ๆ
ให้บุคคลที่เข้ามาเยี่ยมหรือศึกษาได้ความรู้และสิ่งดี ๆ นำไปเผยแพร่ต่อให้ผู้อื่นมาศึกษาความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อไป
- ควรมีการจัดทำเนื้อหาของโครงงานให้หลากหลายให้ครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
- ควรมีการจัดทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนเพิ่มเติม
5.4 ปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการพัฒนา
- เพื่อนๆในกลุ่มไม่ให้ความสนใจในการทำโครงงานและบางครั้งอินเทอร์เน็ตมีปัญหา
เข้าพร้อมกันก็จะทำให้ช้า จึงทำให้การพัฒนาเว็บบล็อกเกิดความล่าช้าตามไปด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น